
คราวนี้พ่อเราได้ลองของใหม่กันแล้ว เพราะการรักษาด้วยวิธี “ ไคโรแพรกติก”นี้มันใหม่มากในบ้านเรา เราไปถึงคลีนิคหมอแถวสุขุมวิทที่คลีนิคนี้แสนจะสวยงาม ทันสมัย สะอาดสะอ้าน แบบนี้ท่าทางจะแพงเอาการฉันคิด แม่และพ่อลงจากรถ แม่เข้าไปถามก่อน ที่นี่ไม่ต้องรอคิว คนน้อยอาจเป็นเพราะคนเรายังไม่รู้จัก แต่เราเช็คดูแล้วว่าทันสมัยที่สุดที่คลีนิคประเภทนี้มีมาในประเทศไทย
หมอเรียกพ่อฉันเข้าไปตรวจถามอาการ และคิดว่าน่าจะลองดู ราคามีทั้งแบบคลอสและแบบครั้งเพื่อการประหยัดและต่อเนื่อง แต่ขอบอกว่า ไม่ใช่ถูกๆเลย แพงมากๆ แต่แม่และพ่อก็ตัดสินใจที่จะลองดู
คราวนี้เราเจอหมอรูปหล่อดูสมาร์ท และดูดีกรีเป็นหนุ่มนักเรียนนอกอย่างแท้จริง หมอหนุ่มมีรูปร่างสูงใหญ่ เพราะแพทย์แขนงนี้คงต้องใช้กำลังวังชามากอยู่ หมอถามอาการและชี้แจงเรื่องการรักษาแบบ”ไคโรแพรกติก”อย่างละเอียด
หมอคนนี้น้องสาวคนเล็กของฉันยังพูดไม่ชัดดีจะเรียกว่า “หมอฟาโรห์” เนื่องจากตอนแรกเราไม่รู้ชื่อหมอ แม่ฉันเรียกตามศาสตร์ที่หมอรักษา จาก”หมอไคโรแพรกติก” เลยมาเป็น “หมอฟาโรห์”ของน้องเล็ก
หมอฟาร์โรอธิบายอย่างละเอียดว่า การรักษาแบบนี้ เป็นศาสตร์การดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ใช้ยาหรือผ่าตัด โดยมีทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และปรัชญา ศาสตร์การแพทย์ไคโรแพรกติกมีพื้นฐานเกี่ยวกับระบบประสาท,สมองและกระดูกสันหลัง ที่ควบคุมการทำงานของทุกๆเซลล์,เนื้อเยื่อ,อวัยวะและระบบต่างๆของร่างกายเรา ร่างกายของเราก็เปรียบเหมือนอินเตอร์เน็ตคือ สมองของเราเปรียบเหมือนคอมพิวเตอร์,ไขสันหลังเปรียบเหมือนโครงข่ายที่ให้ข้อมูลกระดูกสันหลังที่เป็นเหมือนบ้านของระบบเส้นประสาทนอกจากนี้ ยังมีเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำที่เป็นตัวเชื่อมต่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เช่นหัวใจ ปอด ลำไส้และอวัยวะต่างๆการถูกรบกวนของระบบเนื้อเยื่อหรืออวัยวะและการควบคุมระบบประสาท ที่เรียกว่า ส่วนประกอบของการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง ศาสตร์การแพทย์ไคโรแพรกติกเป็นศาสตร์ที่ค้นพบชนิดความผิดปกติของกระดูกสันหลังนี้ ด้วยศาสตร์ การปรับรักษาและปรัชญาที่เป็นธรรมชาติ
1. การรักษาแบบศาสตร์การแพทย์ไคโรแพรคติกนั้นเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการรักษาตนเองและควบคุมการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากระบบประสาททำงานได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีการรบกวน
2. ระบบประสาทเป็นตัวควบคุมการทำงานของร่างกายโดยแพทย์จะไม่ได้รักษาอาการของเราโดยตรงแต่จะเป็นตัวช่วยการกระตุ้นให้ร่างกายเราอยู่ในท่าและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่จะให้ระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูรักษาด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
3. การรบกวนการทำงานของระบบประสาทไม่ว่าจากสาเหตุใด ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายลดน้อยลงสาเหตุหนึ่งของการที่ระบบประสาทโดนรบกวน ซึ่งพบเห็นได้บ่อยครั้ง คือการคลาดเคลื่อนของกระดูกสันหลัง(Vertebral Subluxation) จากอิริยาบถที่ผิด การหกล้ม ถูกกระแทก อุบัติเหตุต่างๆ ท่านอนที่ผิดปกติ บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา บุคลิกท่าทาง ความเครียด เป็นต้น
4. เป้าหมายหลักของแพทย์ไคโรแพรกติกคือการลดการแทรกแซงหรือการรบกวน เช่นการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง (Vertebral subluxation) ที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายลดน้อยลง
5. กระตุ้นส่งเสริมให้ร่างกายมีขีดความสามารถในการรักษาฟื้นฟูร่างกายอย่างเต็มประสิทธิภาพโดยการดูแลกระดูกสันหลังและโครงสร้างให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จะเป็นการช่วยให้ท่านมีสุขภาพที่ดีและร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
พอฟังแล้วมันช่างดูดีเหลือเกิน แม้ราคาจะแพงแต่ก็ตัดสินใจเข้ารักการรักษา เป็นทางเลือกที่น่าสนใจทีเดียว ในคลีนิคหมอจะมีหนังสือเกี่ยวกับแพทย์แขนงนี้มากมาย มีกระดูกไขสันหลังเทียมเป็นข้อๆติดอยู่ที่ผนัง บ้างก็วางไว้ ดูตื่นตาตื่นใจดี ตามหนังสือที่วางมักเป็นเรื่องราวของคนไข้ที่มารักษาด้วยแพทย์แขนงนี้แล้วหายเป็นปกติ หลังจากที่ทำการรักษามาหลายแบบ แต่อย่างว่าแหละนะคะ เคสของพ่อคงหนักเอาการ เล่นเอาหมอหนุ่มบอกว่า “ผมจะขอนัดให้อาจารย์ผมที่เก่งกว่านี้ตรงนะครับ เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าเดิม”
“แต่ผมเชื่อว่า หากคุณให้โอกาส เราคงวางแผนการรักษานี้ให้คุณได้” หมอหนุ่มพูด พ่อและแม่ก็ตกลงที่จะฝากฟิลม์ไว้ เพื่อให้อาจารย์หมอเขาตรวจอาการของพ่อดูอีกที
แล้วพวกเราก็ทิ้งฟิลม์ที่MRI ไว้ให้หมอ วันนี้จึงเป็นการตรวจวินัยฉัยเพื่อวางแผนการรักษา และพ่อไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายอะไร
คราวต่อมา พ่อไปที่คลีนิคหมอฟาโรห์คนเดิม หมอได้อธิบายว่า กระดูกสันหลังของพ่อมีส่วนที่รับออกซิเจนไม่เพียงพออยู่รวมทั้งบางข้อคดงอและเคลื่อน ซึ่งหมอชี้และวงภาพให้ดูตามฟิลม์เอ็กซเรย์ ทำให้การทำงานของเส้นประสาทสันหลังไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งสาเหตุเกิดได้หลายวิธี เช่น การที่คุณเดินตัวงอ นั่งทำงานมากๆเป็นต้น หมออธิบาย ซึ่งเราฟังแล้วมันก็จริงอยู่นะ เพราะพ่อของฉันมักชอบนั่งทำงานนานๆและเวลาเดินก็มักติดที่จะหลังค่อมนิดๆ กระดูกสันหลังคงเป็นแบบที่หมอพูดว่าคือคดงอบางส่วน แม่พยักหน้า เข้าใจเหมือนจะยอมรับให้พ่อรับการรักษา จากนั้นพ่อก็ถูกพามาห้องที่ทำการรักษา ห้องรักษาจะมีเตียงเล็กมากๆ แค่พอดีตัว แต่ปรับได้หลายแบบ ให้หัวต่ำหัวสูง ขาต่ำขาสูง หรือตรงกลางลงหรือแอ่นขึ้น มีเครื่องมือที่มีสายไฟระโยงระยาง เรียกว่าอะไรไม่ทราบ จำไม่ได้เสียแล้วค่ะ แต่ไอ้เครื่องนี้มันจะมีแผ่นเล็กๆติดอยู่ ที่ปลายสายไฟ มันทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าต่ำๆมากระตุ้นตามกล้ามเนื้อของเรา พ่อโดนให้นอนเฉยๆและใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้น 15 นาทีในเบื้องต้น “เวลากระแสไฟเข้า มันจะเหมือนมีเข็มทิ่มจี๊ดๆเหมือนเราโดนไฟดูดเบาๆ “พ่อเล่าในภายหลัง “แต่เมื่อเอาออกแล้ว ก็รู้สึกผ่อนคลายดี เลือดลมเดินดีขึ้น ” พวกเราสามคนก็มองอย่างสนใจ เพราะพ่อเราเหมือนมนุษย์ในหนังวิทยาศาสตร์เลย ที่เขาเลี้ยงในหลอดแก้ว มีสายเต็มตามแขนขา และลำตัวไปหมด พอครบเวลา หมอฟาโรห์ก็เข้ามาและถอดสายต่างๆออก จากนั้นก็จับพ่อนั่ง หมอไปด้านหลังและดัดหลังพ่อเหมือนจัดกระดูกแบบหมอวัดโพธิ์ แต่หากถามว่าเหมือนกันไหมกับท่าฤษีดัดตนของหมอวัดโพธิ์ กับของหมอฟาโรห์ มันต่างกันอย่างไรก็ต้องไปถามน้องสาวตัวเล็กของฉันดู
“เล็ก พี่พลอยว่าเหมือนกับหมอวัดโพธิ์ที่ทำไหม” ฉันถาม
“ไม่เหมือนนะพี่พลอย” เล็กตอบ “ต่างกันตรงไหน เล็ก”
“ก็เสียงของกระดูกไงพี่พลอย ของหมอวัดโพธิ์มันกร๊อบทีละครั้งดังสนั่น แต่ของหมอฟาโรห์ มันกร๊อบเป็นทำนองต่อเนื่อง”เล็กอธิบาย
มันจริงตามนั้นที่เดียว เสียงกระดูกที่ถูกจัดแบบใหม่ของพ่อนั้น มันดังเหมือนกับว่ากระดูกสันหลังทั้ง 33 ชิ้น แต่ละข้อจะถูกจัดให้เข้าที่ทั้งหมดเสียงดุจตีระนาดเป็นจังหวะจะโคนเรียงกันทีเดียว มันดังต่อเนื่องกันตามจุดที่หมอดัด วิธีนี้ หมอบอกว่าเป็นวิธีที่จะช่วยให้กระดูกสันหลังเรียงเข้าที่เป็นระเบียบขึ้น เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับระบบหมุนเวียนของร่างกาย จะทำให้เลือดหมุนเวียนดี ของเสียก็ถูกขับออกง่ายขึ้น และระบบประสาทต่างๆก็จะซ่อมแซมและฟื้นฟูได้ด้วยตัวเอง
วันนั้นหลังจากการจัดกระดูกที่เสียงอันน่าพิศวงแล้ว พ่อของฉันเดินกลับบ้านอย่างตัวปลิวเบาหวิว แข้งขาดูจะแคล่วคล่องขึ้น จนเราสังเกตได้
“เป็นไงป๊า” แม่ถามเมื่อออกจากคลีนิคหมอ “ดีนะ รู้สึกว่าเดินได้ดีขึ้น” พ่อว่า
คืนนั้นที่น่าแปลกคือ เสียงกรนปานมอเตอร์ไซต์เด็กแว๊นซิ่งได้เบาลง พ่อนอนหลับสบายขึ้น ไม่อ้าปากปรื้นๆเหมือนทุกคืน ผลพลอยได้จากการจัดกระดูกก็คือ การนอนหลับสนิทโดนไม่กรนนั่นเอง
อาทิตย์ต่อๆมาเราก็ไปอีก นับได้สามเดือนแล้ว แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ หนึ่งชั่วโมงในการรักษา ด้านคลื่นไฟฟ้าต่ำ และวิธีจัดกระดูก ตอนนั้นเราคิดว่าจะดีแล้วเชียว แต่พ่อกลับมาอาการกระตุกที่แขนเพิ่มขึ้นในเดือนที่ 6 พ่ออุปทานไปหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่พ่อไม่ไปรักษาอีกเลย ที่จริงการรักษาแบบนี้มันใช้เวลาเช่นกัน ไม่ใช่จะหายได้ในเร็ววัน แต่ไม่ทราบว่าเพราะแพงหรือเพราะแขนกระตุกพ่อจึงไม่ยอมไปที่นี่อีก พ่อบอกกับแม่ว่า
“น้องเฮียจะหยุดรักษาแล้วนะ จะลองทานมังสวิรัติดู” ป๊าฉับบอกกับแม่
“ร่างกายต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอ แบบนี้มันจะช่วยได้อย่างไร มีแต่จะแย่ลงสิ” แม่เถียง
“น่าลองดู ป๊าอ่านหนังสือชีวจิตเขาว่ามันช่วยได้ หากเราเปลี่ยนการบริโภค”ป๊าฉันเถียงกลับ
แม่งอนและบอกว่า “ตามใจ คนเราน่ะจะรักษาโรคใช่ว่าจะหายปุ๊บปั๊บ ไม่มีอดทนเลย กายภาพก็ต้องใช้เวลา จัดกระดูกก็ต้องใช้เวลา”
“นี่อะไร รักษาตรงโน้นทีนี้ที ไม่เร็วทันใจก็หยุด”
“แบบนี้ก็แล้วแต่เฮียแล้วกัน ไม่สนแล้ว” แม่ฉันสรุปอย่างไม่พอใจ
แต่ก็ทำอาหารมังสวิรัติให้พ่อทาน คราวนี้เป็นการบำบัดด้วยอาหารกันทีเดียว
อาหารใดช่วยให้ดีขึ้นด้วยระบบประสาทก็จะหามาทาน…………………….
แล้วพ่อฉันก็กลายเป็นนักชิม
หมอเรียกพ่อฉันเข้าไปตรวจถามอาการ และคิดว่าน่าจะลองดู ราคามีทั้งแบบคลอสและแบบครั้งเพื่อการประหยัดและต่อเนื่อง แต่ขอบอกว่า ไม่ใช่ถูกๆเลย แพงมากๆ แต่แม่และพ่อก็ตัดสินใจที่จะลองดู
คราวนี้เราเจอหมอรูปหล่อดูสมาร์ท และดูดีกรีเป็นหนุ่มนักเรียนนอกอย่างแท้จริง หมอหนุ่มมีรูปร่างสูงใหญ่ เพราะแพทย์แขนงนี้คงต้องใช้กำลังวังชามากอยู่ หมอถามอาการและชี้แจงเรื่องการรักษาแบบ”ไคโรแพรกติก”อย่างละเอียด
หมอคนนี้น้องสาวคนเล็กของฉันยังพูดไม่ชัดดีจะเรียกว่า “หมอฟาโรห์” เนื่องจากตอนแรกเราไม่รู้ชื่อหมอ แม่ฉันเรียกตามศาสตร์ที่หมอรักษา จาก”หมอไคโรแพรกติก” เลยมาเป็น “หมอฟาโรห์”ของน้องเล็ก
หมอฟาร์โรอธิบายอย่างละเอียดว่า การรักษาแบบนี้ เป็นศาสตร์การดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ใช้ยาหรือผ่าตัด โดยมีทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และปรัชญา ศาสตร์การแพทย์ไคโรแพรกติกมีพื้นฐานเกี่ยวกับระบบประสาท,สมองและกระดูกสันหลัง ที่ควบคุมการทำงานของทุกๆเซลล์,เนื้อเยื่อ,อวัยวะและระบบต่างๆของร่างกายเรา ร่างกายของเราก็เปรียบเหมือนอินเตอร์เน็ตคือ สมองของเราเปรียบเหมือนคอมพิวเตอร์,ไขสันหลังเปรียบเหมือนโครงข่ายที่ให้ข้อมูลกระดูกสันหลังที่เป็นเหมือนบ้านของระบบเส้นประสาทนอกจากนี้ ยังมีเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำที่เป็นตัวเชื่อมต่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เช่นหัวใจ ปอด ลำไส้และอวัยวะต่างๆการถูกรบกวนของระบบเนื้อเยื่อหรืออวัยวะและการควบคุมระบบประสาท ที่เรียกว่า ส่วนประกอบของการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง ศาสตร์การแพทย์ไคโรแพรกติกเป็นศาสตร์ที่ค้นพบชนิดความผิดปกติของกระดูกสันหลังนี้ ด้วยศาสตร์ การปรับรักษาและปรัชญาที่เป็นธรรมชาติ
1. การรักษาแบบศาสตร์การแพทย์ไคโรแพรคติกนั้นเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการรักษาตนเองและควบคุมการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากระบบประสาททำงานได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีการรบกวน
2. ระบบประสาทเป็นตัวควบคุมการทำงานของร่างกายโดยแพทย์จะไม่ได้รักษาอาการของเราโดยตรงแต่จะเป็นตัวช่วยการกระตุ้นให้ร่างกายเราอยู่ในท่าและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่จะให้ระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูรักษาด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
3. การรบกวนการทำงานของระบบประสาทไม่ว่าจากสาเหตุใด ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายลดน้อยลงสาเหตุหนึ่งของการที่ระบบประสาทโดนรบกวน ซึ่งพบเห็นได้บ่อยครั้ง คือการคลาดเคลื่อนของกระดูกสันหลัง(Vertebral Subluxation) จากอิริยาบถที่ผิด การหกล้ม ถูกกระแทก อุบัติเหตุต่างๆ ท่านอนที่ผิดปกติ บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา บุคลิกท่าทาง ความเครียด เป็นต้น
4. เป้าหมายหลักของแพทย์ไคโรแพรกติกคือการลดการแทรกแซงหรือการรบกวน เช่นการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง (Vertebral subluxation) ที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายลดน้อยลง
5. กระตุ้นส่งเสริมให้ร่างกายมีขีดความสามารถในการรักษาฟื้นฟูร่างกายอย่างเต็มประสิทธิภาพโดยการดูแลกระดูกสันหลังและโครงสร้างให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จะเป็นการช่วยให้ท่านมีสุขภาพที่ดีและร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
พอฟังแล้วมันช่างดูดีเหลือเกิน แม้ราคาจะแพงแต่ก็ตัดสินใจเข้ารักการรักษา เป็นทางเลือกที่น่าสนใจทีเดียว ในคลีนิคหมอจะมีหนังสือเกี่ยวกับแพทย์แขนงนี้มากมาย มีกระดูกไขสันหลังเทียมเป็นข้อๆติดอยู่ที่ผนัง บ้างก็วางไว้ ดูตื่นตาตื่นใจดี ตามหนังสือที่วางมักเป็นเรื่องราวของคนไข้ที่มารักษาด้วยแพทย์แขนงนี้แล้วหายเป็นปกติ หลังจากที่ทำการรักษามาหลายแบบ แต่อย่างว่าแหละนะคะ เคสของพ่อคงหนักเอาการ เล่นเอาหมอหนุ่มบอกว่า “ผมจะขอนัดให้อาจารย์ผมที่เก่งกว่านี้ตรงนะครับ เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้นกว่าเดิม”
“แต่ผมเชื่อว่า หากคุณให้โอกาส เราคงวางแผนการรักษานี้ให้คุณได้” หมอหนุ่มพูด พ่อและแม่ก็ตกลงที่จะฝากฟิลม์ไว้ เพื่อให้อาจารย์หมอเขาตรวจอาการของพ่อดูอีกที
แล้วพวกเราก็ทิ้งฟิลม์ที่MRI ไว้ให้หมอ วันนี้จึงเป็นการตรวจวินัยฉัยเพื่อวางแผนการรักษา และพ่อไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายอะไร
คราวต่อมา พ่อไปที่คลีนิคหมอฟาโรห์คนเดิม หมอได้อธิบายว่า กระดูกสันหลังของพ่อมีส่วนที่รับออกซิเจนไม่เพียงพออยู่รวมทั้งบางข้อคดงอและเคลื่อน ซึ่งหมอชี้และวงภาพให้ดูตามฟิลม์เอ็กซเรย์ ทำให้การทำงานของเส้นประสาทสันหลังไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งสาเหตุเกิดได้หลายวิธี เช่น การที่คุณเดินตัวงอ นั่งทำงานมากๆเป็นต้น หมออธิบาย ซึ่งเราฟังแล้วมันก็จริงอยู่นะ เพราะพ่อของฉันมักชอบนั่งทำงานนานๆและเวลาเดินก็มักติดที่จะหลังค่อมนิดๆ กระดูกสันหลังคงเป็นแบบที่หมอพูดว่าคือคดงอบางส่วน แม่พยักหน้า เข้าใจเหมือนจะยอมรับให้พ่อรับการรักษา จากนั้นพ่อก็ถูกพามาห้องที่ทำการรักษา ห้องรักษาจะมีเตียงเล็กมากๆ แค่พอดีตัว แต่ปรับได้หลายแบบ ให้หัวต่ำหัวสูง ขาต่ำขาสูง หรือตรงกลางลงหรือแอ่นขึ้น มีเครื่องมือที่มีสายไฟระโยงระยาง เรียกว่าอะไรไม่ทราบ จำไม่ได้เสียแล้วค่ะ แต่ไอ้เครื่องนี้มันจะมีแผ่นเล็กๆติดอยู่ ที่ปลายสายไฟ มันทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าต่ำๆมากระตุ้นตามกล้ามเนื้อของเรา พ่อโดนให้นอนเฉยๆและใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้น 15 นาทีในเบื้องต้น “เวลากระแสไฟเข้า มันจะเหมือนมีเข็มทิ่มจี๊ดๆเหมือนเราโดนไฟดูดเบาๆ “พ่อเล่าในภายหลัง “แต่เมื่อเอาออกแล้ว ก็รู้สึกผ่อนคลายดี เลือดลมเดินดีขึ้น ” พวกเราสามคนก็มองอย่างสนใจ เพราะพ่อเราเหมือนมนุษย์ในหนังวิทยาศาสตร์เลย ที่เขาเลี้ยงในหลอดแก้ว มีสายเต็มตามแขนขา และลำตัวไปหมด พอครบเวลา หมอฟาโรห์ก็เข้ามาและถอดสายต่างๆออก จากนั้นก็จับพ่อนั่ง หมอไปด้านหลังและดัดหลังพ่อเหมือนจัดกระดูกแบบหมอวัดโพธิ์ แต่หากถามว่าเหมือนกันไหมกับท่าฤษีดัดตนของหมอวัดโพธิ์ กับของหมอฟาโรห์ มันต่างกันอย่างไรก็ต้องไปถามน้องสาวตัวเล็กของฉันดู
“เล็ก พี่พลอยว่าเหมือนกับหมอวัดโพธิ์ที่ทำไหม” ฉันถาม
“ไม่เหมือนนะพี่พลอย” เล็กตอบ “ต่างกันตรงไหน เล็ก”
“ก็เสียงของกระดูกไงพี่พลอย ของหมอวัดโพธิ์มันกร๊อบทีละครั้งดังสนั่น แต่ของหมอฟาโรห์ มันกร๊อบเป็นทำนองต่อเนื่อง”เล็กอธิบาย
มันจริงตามนั้นที่เดียว เสียงกระดูกที่ถูกจัดแบบใหม่ของพ่อนั้น มันดังเหมือนกับว่ากระดูกสันหลังทั้ง 33 ชิ้น แต่ละข้อจะถูกจัดให้เข้าที่ทั้งหมดเสียงดุจตีระนาดเป็นจังหวะจะโคนเรียงกันทีเดียว มันดังต่อเนื่องกันตามจุดที่หมอดัด วิธีนี้ หมอบอกว่าเป็นวิธีที่จะช่วยให้กระดูกสันหลังเรียงเข้าที่เป็นระเบียบขึ้น เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับระบบหมุนเวียนของร่างกาย จะทำให้เลือดหมุนเวียนดี ของเสียก็ถูกขับออกง่ายขึ้น และระบบประสาทต่างๆก็จะซ่อมแซมและฟื้นฟูได้ด้วยตัวเอง
วันนั้นหลังจากการจัดกระดูกที่เสียงอันน่าพิศวงแล้ว พ่อของฉันเดินกลับบ้านอย่างตัวปลิวเบาหวิว แข้งขาดูจะแคล่วคล่องขึ้น จนเราสังเกตได้
“เป็นไงป๊า” แม่ถามเมื่อออกจากคลีนิคหมอ “ดีนะ รู้สึกว่าเดินได้ดีขึ้น” พ่อว่า
คืนนั้นที่น่าแปลกคือ เสียงกรนปานมอเตอร์ไซต์เด็กแว๊นซิ่งได้เบาลง พ่อนอนหลับสบายขึ้น ไม่อ้าปากปรื้นๆเหมือนทุกคืน ผลพลอยได้จากการจัดกระดูกก็คือ การนอนหลับสนิทโดนไม่กรนนั่นเอง
อาทิตย์ต่อๆมาเราก็ไปอีก นับได้สามเดือนแล้ว แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ หนึ่งชั่วโมงในการรักษา ด้านคลื่นไฟฟ้าต่ำ และวิธีจัดกระดูก ตอนนั้นเราคิดว่าจะดีแล้วเชียว แต่พ่อกลับมาอาการกระตุกที่แขนเพิ่มขึ้นในเดือนที่ 6 พ่ออุปทานไปหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่พ่อไม่ไปรักษาอีกเลย ที่จริงการรักษาแบบนี้มันใช้เวลาเช่นกัน ไม่ใช่จะหายได้ในเร็ววัน แต่ไม่ทราบว่าเพราะแพงหรือเพราะแขนกระตุกพ่อจึงไม่ยอมไปที่นี่อีก พ่อบอกกับแม่ว่า
“น้องเฮียจะหยุดรักษาแล้วนะ จะลองทานมังสวิรัติดู” ป๊าฉับบอกกับแม่
“ร่างกายต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอ แบบนี้มันจะช่วยได้อย่างไร มีแต่จะแย่ลงสิ” แม่เถียง
“น่าลองดู ป๊าอ่านหนังสือชีวจิตเขาว่ามันช่วยได้ หากเราเปลี่ยนการบริโภค”ป๊าฉันเถียงกลับ
แม่งอนและบอกว่า “ตามใจ คนเราน่ะจะรักษาโรคใช่ว่าจะหายปุ๊บปั๊บ ไม่มีอดทนเลย กายภาพก็ต้องใช้เวลา จัดกระดูกก็ต้องใช้เวลา”
“นี่อะไร รักษาตรงโน้นทีนี้ที ไม่เร็วทันใจก็หยุด”
“แบบนี้ก็แล้วแต่เฮียแล้วกัน ไม่สนแล้ว” แม่ฉันสรุปอย่างไม่พอใจ
แต่ก็ทำอาหารมังสวิรัติให้พ่อทาน คราวนี้เป็นการบำบัดด้วยอาหารกันทีเดียว
อาหารใดช่วยให้ดีขึ้นด้วยระบบประสาทก็จะหามาทาน…………………….
แล้วพ่อฉันก็กลายเป็นนักชิม